ประวัติ ขันเงิน
ขันเงิน กับความหลงใหลในเสียงดนตรี
ขันเงิน เริ่มซึมซับเสียงดนตรีมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากในวัยเด็กที่บ้านเคยเปิดผับ ทำให้เขาได้เข้าไปนั่งเล่นฟังเพลงในร้าน ดูนักดนตรีทำการแสดงอยู่บ้าง แต่ความชอบจริง ๆ นั้นเริ่มต้นประมาณอายุได้ 15 ปี โดยเขาขอของขวัญวันเกิดเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียง และตั้งใจฝึกฝนอย่างหนัก รวมถึงเก็บเงินเพื่อนำไปซื้อเทิร์นเทเบิล ก่อนที่จะฝึกหัดและรับจ้างเป็นดีเจเปิดเพลงของโรงเรียน จนกระทั่งได้กลับมาเมืองไทย
ขันเงิน ได้จัดฮิปฮอปปาร์ตี้ครั้งแรกกับเพื่อน ๆ ในช่วงซัมเมอร์ของปี พ.ศ. 2536 ที่ผับเล็ก ๆ แถวกระทรวงการคลัง จนได้เจอกับ สุกี้ พี่สมเกียรติ พี่เอื้อง ซึ่งได้แลกเปลี่ยนความคิดทางดนตรีกัน ก่อนจะแยกย้ายกันไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 เขาได้กลับมาเมืองไทย และได้ทำงานเพลงออกมาในชื่อ อัลบั้ม Hip Hop Story ในนาม ขัน-ที กับสังกัด GMM Grammy แต่เมื่อจบอัลบั้มเขาก็ขอยกเลิกสัญญา เพราะอยากไปทำเพลงในแนวที่ตัวเองชื่นชอบมากกว่า
ขันเงิน กับวงไทยเทเนี่ยม
ขันเงิน ตัดสินใจไปสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง โดยครั้งนี้เขาไปอยู่ที่นิวยอร์ก และอาศัยอยู่ร่วมกับ เดย์ จำรัส ทัศนวะลาด และ เวย์ ปริญญา อินทชัย ที่ต่อมาได้รวมตัวกันเป็นวงไทยเทเนี่ยม ซึ่งทั้ง 3 คนได้ช่วยกันฟันฝ่าความยากลำบากต่าง ๆ ในการหาเงินมาเลี้ยงชีพ พร้อม ๆ กับที่ขันเงินได้ซึมซับพัฒนาทักษะด้านดนตรีมาเรื่อย ๆ จนเขาได้รับความไว้วางใจจากศิลปินต่าง ๆ ให้แต่งเนื้อร้องและทำนองเพลงแลกกับเงินค่าจ้าง จากนั้นจึงได้รวบรวมเงินมาเช่าห้องพักแห่งใหม่และสร้างสตูดิโอ จนรวมตัวกันเป็นไทยเทเนี่ยม (THAITANIUM) ในที่สุด
จากนั้น 3 หนุ่มฮิปฮอปก็ได้เริ่มทำเพลงที่นิวยอร์ก และส่งกลับมาโปรโมตที่ไทยตั้งแต่ปี 2543 โดยเริ่มจากอัลบั้ม AA และ Thai Riders ไม่นานก็ออกอีก 2 อัลบั้ม คือ P77 และ R.A.S. ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดี มีคนสนใจแนวเพลงฮิปฮอปมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่อกระแสวงไทยเทเนี่ยมโด่งดัง เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง จากนั้นค่าย สนามหลวง ในชายคา จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ก็ได้จับมือพร้อมเปิดตัวผลงานชุด Thailand 's Most Wanted และมีโอกาสได้ร่วมงานกับศิลปินคนอื่น ๆ พวกเขาจึงเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมตอกย้ำความสำเร็จของ 3 หนุ่มไทยเทเนี่ยมด้วยการได้ร่วมแสดงในงาน Yaris Present Asian Hip Hop Festival ปี 2008 จนได้รับการยอมรับจากหลาย ๆ ประเทศ กลายเป็นวงโกอินเตอร์และมีชื่อเสียงโด่งดังในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ขันเงิน ในฐานะผู้บริหารค่ายเพลง ไทยเทเนี่ยม เอ็นเตอร์เทนเมนต์
ขันเงิน ในฐานะนักธุรกิจ
หลังจากที่โลดแล่นในเส้นทางสายฮิปฮอปทั้งบนเวที และหลังม่านในฐานะผู้บริหารแล้ว ขันเงิน ยังมีธุรกิจอื่น ๆ ที่ทำอยู่เกี่ยวข้องกับด้านบันเทิง ศิลปะ เพลง รายการทีวี และสันทนาการ นอกเหนือจากการเป็นกรรมการและถือหุ้นในบริษัท ไทยเทเนี่ยม เบฟเวอเรจ จำกัด ยังเป็นกรรมการในบริษัท ไทยเทเนี่ยม เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด, บริษัท ไทยเทเนี่ยม พับลิชชิ่ง, บริษัท บีเจ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด 4 กันยายน
ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 มีรายงานว่า นางสาวฐิตาภัสร์ อิสราพรพัฒน์ เลขานุการบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า บริษัทได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อ-ขายหุ้นสามัญทั้งหมดที่บริษัทถืออยู่ในบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (MPIC) จำนวน 1,202,130,480 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 92.46% ให้กับ นายขันเงิน เนื้อนวล หรือ ขันเงิน ไทยเทเนี่ยม ซึ่งไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน สำหรับการซื้อ-ขายหุ้น MPIC ครั้งนี้ เป็นการซื้อ-ขายด้วยวิธีการโอนหุ้นแบบมีใบหุ้น ซึ่งจะทำรายการซื้อ-ขายวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 หรือวันอื่นใดที่คู่สัญญาได้ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งผลให้ขันเงินขึ้นแท่นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของค่าย M Pictures ไปแล้วเรียบร้อย
ผลงาน ขันเงิน
อัลบั้มในนาม Khan - T
- Hip-Hop Story (พ.ศ. 2538) สังกัดมิวสิกเอ็กซ์
- 4+9 (Remix) (พ.ศ. 2540)
- Khan-T BEAT (พ.ศ. 2541)
อัลบั้มเดี่ยวในนาม ขันเงิน เนื้อนวล
- อารมณ์ขัน..หวาน (พ.ศ. 2542) สังกัด กรีนบีนส์ ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
อัลบั้มในนามวงไทยเทเนี่ยม
- AA (พ.ศ. 2543)
- Thai Riders (พ.ศ. 2545)
- OST. P77 (พ.ศ. 2546)
- R.A.S. (Resisting Against da System) (พ.ศ. 2547)
- Thailand's Most Wanted (พ.ศ. 2548)
- EP. Thaitanium Limited Edition (พ.ศ. 2551)
- Still Resisting (พ.ศ. 2553)
- NOW (พ.ศ. 2560)
ผลงานทางด้านละครโทรทัศน์
- พ.ศ. 2564 : ไอ้ข้าวแกง ช่องไทยรัฐทีวี รับบท ขันเงิน (Thaitanium) (รับเชิญ)
รายการทีวี
- รายการ The Rapper เป็นโปรดิวเซอร์ ร่วมกับ โจอี้ บอย
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง