ประวัติ น้อย วงพรู
กฤษดา สุโกศล แคลปป์ ชื่อเล่นคือ น้อย หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ น้อย วงพรู นักร้องนำวงพรูและนักแสดงชายลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เกิดวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2513 เป็นลูกชายคนเล็กของมิสเตอร์เทอร์เรนซ์ เอช แคลปป์ กับคุณกมลา สุโกศล มีพี่น้อง 4 คน ได้แก่ มาริสา สุโกศล แคลปป์, ดารณี สุโกศล แคลปป์ และ สุกี้ กมล สุโกศล แคลปป์ ผู้ก่อตั้งค่ายเพลงเบเกอรี่ มิวสิค, ค่ายเลิฟอีส และวงพรู
น้อย เรียนจบปริญญาตรีด้านการแสดงจาก Stella Adler Conservatory of Acting นิวยอร์ก และปริญญาตรีมานุษยวิทยาจาก Boston University เขาเริ่มต้นใช้ชีวิตในฐานะนักแสดงตามเวทีและสถานที่เล็ก ๆ ในนิวยอร์ก พร้อม ๆ กับเรียนการแสดงควบคู่กับทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟอาหารไปด้วย เขาเริ่มมีผลงานการแสดงในประเทศไทยครั้งแรกกับการเป็นนักแสดงนำในหนังเรื่อง คนกราบหมา ซึ่งเป็นหนังที่ถูกห้ามฉายในประเทศไทย
น้อย วงพรู กับครอบครัว
น้อย วงพรู กับผลงานเพลง
ในปี พ.ศ. 2544 ทั้งน้อยและสุกี้ ร่วมกับเพื่อนอีก 2 คน คือ ยอดเถา ยอดยิ่ง และคณิณญาณ จันทรสมา ได้ฟอร์มวงดนตรีชื่อ พรู ซึ่ง น้อย รับหน้าที่เป็นนักร้องนำ โดยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวงพรู คือ อิสระทางความคิด ที่สมาชิกแต่ละคนจะมีวิธีในการสื่อสารความคิดของตัวเองสู่สาธารณะอย่างอิสรเสรี เอกลักษณ์ที่สำคัญของพรูอีกอย่างหนึ่งคือ ลีลาการแสดงสดบนเวทีของวงพรูเป็นที่กล่าวขวัญมาก โดยเฉพาะกับนักร้องนำอย่าง น้อย ที่มักจะประยุกต์การเต้นประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแจ๊สหรือบัลเลต์ เข้ามาใส่ไว้ในบทเพลง ทำให้การแสดงโชว์ของพรูในแต่ละครั้งมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก
วงพรูมีผลงานเพลงออกมา 3 อัลบั้ม ได้แก่ PRU (2544), Pru - S.E.(Special Edition) (2544) และ Zero (0) (2548) รวมถึงมีผลงานเป็นอีพีและซิงเกิลอีก 3 ชิ้น ได้แก่ Romeo & Juliet (2544), รักเธอจนจบชีวิต (2545) และ PRU D.S.(Double Single) (2548) ก่อนที่จะยุบวงในปี พ.ศ. 2549
น้อย วงพรู ได้ร้องเพลงชื่อ เหนื่อยใจ ในอัลบั้ม Ford & Friends Sing Stone ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงจากคอนเสิร์ต Ford & Friends Let’s Sing Stone and 90th’s Memory โดยได้คัดเลือกจากบทเพลงดังในอดีตที่ดีที่สุดของค่าย Stone Entertainment ที่นำมาทำใหม่
น้อย วงพรู กับผลงานทางการแสดง
ผลงานภาพยนตร์
- คนกราบหมา (2539)
- หัวใจทรนง (2547)
- ทวารยังหวานอยู่ (2547) รับบท เบ๊
- 13 เกมสยอง (2549) รับบท ภูชิต
- ความสุขของกะทิ (2552)
- ณ ขณะรัก (2552)
- หลวงพี่เท่ง 3 (2553) รับบท พระน้อย
- อันธพาล (2555) รับบท จ๊อด ไอ้จ๊อด
- โลงจำนำ (2556)
- Mary is happy, Mary is happy (2556)
- ลูกทุ่งซิกเนเจอร์ (2558)
- ขุนพันธ์ (2559) รับบท อัลฮาวียะลู
- แสงกระสือ 2 (2566) รับบท น้อย
รางวัลที่ น้อย วงพรู ได้รับ
- รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2549 จากเรื่อง 13 เกมสยอง
- รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2559 จากเรื่อง ขุนพันธ์
โซเชียลมีเดีย น้อย วงพรู
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง